ตัวอักษรวิ่ง

ยินดีต้อนรับสู่โลกของเรา

วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

พละศึกษา

พลศึกษา เป็นศาสตร์และศิลป์ที่ได้รับการถ่ายทอดมานานจากคนตะวันตก ที่เน้นร่างกายเป็นสิ่งสำคัญมากกว่าจิตใจ ที่มีความแข็งแรง ความเร็ว ความอ่อนตัว ความคล่องแคล่ว ความทนทาน และระบบไหลเวียนโลหิต จนมีหลักการที่พูดกันว่า A SOUND MIND IN A SOUND BODY หรือ จิตใจที่แข็งแกร่งย่อมอยู่ในร่างกายที่แข็งแรง แต่ในความเป็นจริง คนตะวันออก พูดถึงพลศึกษามานานในรูปแบบทางจิตใจ นั่นคือ พละ 5 ธรรมที่เป็นพลัง มีสัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา แต่ไม่ได้รับการตอบรับมากนัก จนมีหลักการที่ว่า จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว จึงเห็นได้ว่า พลศึกษาต้องเกี่ยวโยงทั้งสองด้านคือ ร่างกายและจิตใจ ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ และทั้งคู่ต้องทำงานไปพร้อมๆกัน และที่สำคัญต้องบังคับร่างกายให้ได้ตามที่ต้องการและควบคุมจิตใจ                                                                              พลศึกษา คือศาสตร์และศิลป์ในการเรียนรู้ร่างกายและจิตใจ
พลศึกษา เป็น ชื่อสาระการเรียนรู้แขนงหนึ่งที่บังคับเรียนตามหลักสูตร เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกายและจิตใจอย่างถูกวิธี หรือหากจะเพิ่มรายละเอียดมากขึ้น ขอขยายความว่า
พลศึกษา หมายถึง สาระการเรียนรู้แขนงหนึ่ง ที่ว่าด้วยการเรียนรู้เรื่องการเคลื่อนไหวที่ต้องบังคับร่างกายและควบคุมจิตใจ เพื่อก่อให้เกิดการใช้พลังงานอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย และใช้กีฬาเป็นสื่อในการเรียนรู้
แล้วถามต่อว่า เรียนพลศึกษาไปทำไม ก็จะต้องมีการสร้างวิธีคิดให้กับผู้เรียนเช่นกันว่าทุกเรื่องที่เรียนรู้มีเป้าหมายปลายทางทั้งสิ้น ดังนี้
เรียนพลศึกษา เพื่อ ให้ร่างกายและจิตใจมีการเคลื่อนไหวที่ถูกวิธีและถูกต้อง จนก่อเกิดความแข็งแรงในร่างกายและความแข็งแกร่งในจิตใจ เมื่อเคลื่อนไหวสม่ำเสมอ จะมีสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจที่ดีต่อไป
จากนัยสำคัญของพลศึกษาในแง่ของคำว่า คือ,เป็น,หมายถึงและเพื่อ นั้น ย่อมแสดงถึงคุณค่ามหาศาลของคำ คำนี้ และเมื่อจะถอดรหัสใจความของเนื้อในที่มีหลายคำที่ทรงคุณค่า และสำคัญ ไม่ว่า ศาสตร์, ศิลป์, เคลื่อนไหว, บังคับร่างกาย, ควบคุมจิตใจ, ถูกวิธี, มีประสิทธิภาพ, ออกกำลังกาย, กีฬาเป็นสื่อ, ความแข็งแรงในร่างกาย, ความแข็งแกร่งในจิตใจ และสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ ยิ่งทำให้เห็นว่า คำนามธรรมคำหนึ่งที่ชื่อว่า “พลศึกษา” นั้น ทำไมจึงเป็นสาระการเรียนรู้ที่ยอดเยี่ยมได้ เพียงแต่จะไม่ขอกล่าวรายละเอียดในที่นี้ แต่จะให้แนวคิด, ข้อคิด และวิธีคิด
อีกแง่มุมหนึ่งที่นักวิชาการทางพลศึกษาหลายคนมองข้ามไป กล่าวคือ จากการที่การศึกษาส่วนใหญ่ เรียนรู้มาจากองค์ความรู้จากตะวันตกเป็นหลัก ซึ่งก็คือ “ความรู้ทางโลก” ทำให้องค์ความรู้ทางตะวันออกอีกแง่มุมหนึ่งลืมเลือนไปหรือให้ความสำคัญน้อยกว่า ซึ่งก็คือ “ความรู้ทางธรรม” นั่นคือ วิธีคิดทางธรรม ซึ่งเป็นแนวคิดที่ค่อนข้างเป็นนามธรรม แต่สามารถทำให้เห็นเป็นรูปธรรมอยู่ตลอดเวลา และอยู่ใกล้ตัวของคนมากที่สุด
ในอดีตชาวพลศึกษาหลายคนเคยได้รับการปลูกฝังจากครูบาอาจารย์ และรุ่นพี่ ให้พูดคำว่า พลศึกษา ให้เต็มคำ ไม่ใช่พูดว่า “พละ” ซึ่งความคิดขณะนั้น จะหมายถึงว่าใช้เฉพาะกำลัง ไม่ออกแนวใช้ความรู้ทางสมองมากนักหรือไม่ออกแนววิชาการนั่นเอง แต่เกรงว่าคนอื่นจะเข้าใจผิดว่าชาวพลศึกษาใช้แต่กำลังมากกว่าใช้สมอง เมื่อวันเวลาผ่านไป ประสบการณ์และการเรียนรู้มากขึ้น ผู้เขียนเริ่มเข้าใจว่า พูดคำว่า “พละ” ก็ได้ แถมมีนัยสำคัญทางธรรมะประกอบอยู่เสมอ ให้ระลึกเสมอว่า พละเป็นเรื่องที่มีความรู้ทางโลกและทางธรรมอยู่รวมกัน อยู่ร่วมกัน และอยู่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันตลอดเวลา ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น จากหนังสือพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ ของพระราชวรมุนีตนเองให้นิ่ง

สุขศึกษา

  อาหารหลัก 5 หมู่
หมู่ที่ 1 นม ไข่ เนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่วเมล็ดแห้งและงา
  • นม ไข่ เนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่วเมล็ดแห้งและงา เป็นแหล่งโปรตีนที่ดี สามารถนำไปเสริมสร้าง ร่างกายให้เจริญเติบโตและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ เสื่อมให้อยู่ในสภาพปกติ
  • ในวัยเด็ก จำเป็นอย่างนิ่งที่ต้องได้รับโปรตีนในปริมาณที่เพียงพอ และมีคุณภาพที่ดี
  • วัยผู้ใหญ่ ควรเลือกกินโปรตีนที่สามารถย่อยง่ายและมีไขมันต่ำ เช่น เนื้อปลาและเพื่อไม่ให้ ่เบื่ออาหาร ควรกินสลับกับถั่วเมล็ดแห้งบ้าง ทำให้เกิดความหลากหลายในชนิดอาหาร
     
หมู่ที่ 2 ข้าว แป้ง เผือก มัน น้ำตาล
  • ข้าว แป้ง เผือก มัน น้ำตาล มีสารอาหารคาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งอาหารสำคัญที่ให้พลังงาน
  • ข้าวกล้องและข้าวซ้อมมือมีใยอาหาร วิตามินและ แร่ธาตุ
  • เพื่อให้ร่างกายได้ประโยชน์มากที่สุด ควรกินสลับกับผลิตภัณฑ์จากข้าวและธัญพืชอื่น ที่ให้พลังงานเช่นเดียวกับข้าว ได้แก่ ก๋วยเตี่ยว ขนมจีน บะหมี่ วุ้นเส้น หรือแป้งต่างๆ และไม่ควรกินมากเกินความต้องการเพราะอาหารประเภทนี้ จะถูกเปลี่ยนและเก็บสะสมไว้ในรูปของไขมันตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดโรคอ้วน

หมู่ที่ 3 ผักต่างๆ
  • อาหารหมู่นี้ จะให้วิตามินและเกลือแร่แก่ร่างกายช่วยเสริมสร้างทำให้ร่างกายแข็งแรงมีแรง ต้านทานเชื้อโรคและช่วยให้อวัยวะต่างๆทำงานได้อย่างเป็นปกติ
  • อาหารที่สำคัญของหมู่นี้ คือ ผักต่างๆ เช่น ตำลึง ผักบุ้ง ผักกาดและผักใบเขียวอื่นๆ นอกจากนั้นยังรวมถึง พืชผักอื่นๆ เช่น มะเขือ ฟักทอง ถั่วฝักยาว เป็นต้น 
  • นอกจากนั้น อาหารหมู่นี้จะมีกากอาหารที่ถูกขับถ่ายออกมาเป็นอุจจาระทำให้ลำไส้้ทำงานเป็นปกติ
หมู่ที่ 4 ผลไม้ต่างๆ
  • ผลไม้ต่างๆ จะให้วิตามินและเกลือแร่  ช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง มีแรงต้านทานโรคและมีกากอาหารช่วยทำให้การขับถ่ายของลำไส้เป็นปกติ 
  • อาหารที่สำคํญ ได้แก่ ผลไม้ต่างๆ เช่น กล้วย มะละกอ ส้ม มังคุด ลำไย เป็นต้น
หมู่ที่ 5 ไขมันและน้ำมัน
  • ไขมันและน้ำมัน จะให้สารอาหารประเภทไขมันมาก จะให้พลังงานแก่ร่างกาย ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตร่างกายจะสะสมพลังงานที่ได้ไว้ใต้ผิวหนังตามส่วน ต่างๆ ของร่างกาย เช่น บริเวณสะโพก ต้นขา เป็นต้น 
  • ไขมันที่สะสมไว้เหล่านี้จะให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายและให้พลังงานที่สะสมไว้ใช้ในเวลาที่จำเป็นระยะยาว อาหารที่สำคัญ ได้แก่
    - ไขมันจากสัตว์ เช่น น้ำมันหมู รวมทั้้งไขมันที่แทรกอยู่ในเนื้อสัตว์ต่างๆด้วย
    - ไขมันที่ได้จากพืช เข่น กะทิ น้ำมันรำ น้ำนมถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม เป็นต้น

สังคมศึษา

สาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เป็นวิชาที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยเรื่อง ราวเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม การดำเนินชีวิต รวมถึงศาสนา ศีลธรรม และจริยธรรม วิชาสังคมศึกษาจึงช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจว่ามนุษย์ดำรงชีวิตอย่างไร และเข้าใจถึงการพัฒนา การเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย ตามกาลเวลา ตามเหตุปัจจัยต่างๆ ทำให้เกิดความเข้าใจในตนเองและเข้าใจผู้อื่น ยอมรับในความแตกต่าง มีคุณธรรม มีความอดทน อดกลั้น สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิต มีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ในสังคมอย่างเป็นสุข เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติและสังคมโลก อันเป็นเป้าหมายที่แท้จริงของการเรียนวิชาสังคมศึกษางเชื่อมโยงให้เด็กเรียนรู้การใช้ชีวิตที่ถูกต้อง อยู่อย่างมีความสุข โดยเรียนผ่านสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นในห้องหรือในโรงเรียน หรือวิเคราะห์จากตัวอย่างสถานการณ์ที่เป็นจริงในสังคม การเรียนการสอนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเป็นการศึกษาที่พัฒนาทั้ง 3 ด้านของชีวิตของเรา นั่นคือ
ด้านพฤติกรรม (ศีล) คือ
พฤติกรรมในความสัมพันธ์กับโลกแห่งวัตถุ ได้แก่ การใช้ตา หู จมูก ลิ้น กาย ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิต มีประสิทธิ ภาพในการใช้งาน ให้ดูเป็น ฟังเป็น และการบริโภคปัจจัย 4 รวมถึงการใช้ประโยชน์จากวัตถุอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งเทคโน โลยีด้วยปัญญา มุ่งคุณค่าที่แท้จริง และส่งเสริมการพัฒนาชีวิต เรียกว่า กินเป็น บริโภคเป็น ใช้เป็นพฤติกรรมในการสัมพันธ์กับโลกแห่งชีวิต ได้แก่ การอยู่ร่วมสังคม โดยไม่เบียดเบียน ไม่ก่อความเดือดร้อน มีความ สัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนมนุษย์ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ดำรงตนอยู่ในขอบเขตแห่งศีล 5 รักษากติกาสังคม กฎเกณฑ์ กฎหมาย ระเบียบแบบแผน จรรยาบรรณต่างๆ มีการให้ เผื่อแผ่ แบ่งปัน ช่วยเหลือ ให้ความสุขกับเพื่อนมนุษย์ ส่งเสริมการสร้างสรรค์สิ่งดีงามพฤติกรรมในด้านอาชีพ คือ ทำมาหาเลี้ยงชีพที่เป็นสัมมาชีพ ไม่ก่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น เป็นอาชีพที่เอื้อต่อการพัฒนาชีวิตของตน ไม่ทำให้เสื่อมจากคุณความดีด้านจิตใจ (สมาธิ) แยกได้ดังนี้คุณภาพจิต ได้แก่ คุณธรรมความดีงามต่างๆ เช่น เมตตา กรุณา กตัญญูกตเวที หิริโอตตัปปะ ฯลฯ ซึ่งจะหล่อเลี้ยงจิตใจให้งอกงาม และเป็นพื้นฐานของพฤติกรรมที่ดีงามสมรรถภาพจิต ได้แก่ ความสามารถ เข้มแข็ง มั่นคง มีฉันทะ (ความใฝ่รู้ ใฝ่ดี ใฝ่ทำ) มีความเพียร (วิริยะ) ขยัน (อุตสาหะ) อดทน (ขันติ) มีสติ ควบคุมได้ สงบ มีสมาธิ ไม่ประมาท ทำให้ก้าวหน้ามั่นคงในพฤติกรรมที่ดีงามและพร้อมที่จะใช้ปัญญาสุขภาพจิต ได้แก่ สภาพจิตที่ปราศจากความขุ่นมัว เศร้าหมอง เป็นจิตที่สดชื่น ร่าเริง เบิกบาน ผ่อนคลาย ผ่องใส เป็นสุข ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพกาย และทำให้พฤติกรรมที่ดีงาม มีความมั่นคงด้านปัญญา (ปัญญา) มีการพัฒนาหลายด้าน หลายระดับ เช่นความรู้ความเข้าใจในการฟัง เล่าเรียน และรับข้อมูลข่าวสารอย่างมีประสิทธิภาพรับรู้ประสบการณ์และเรียนรู้สิ่งต่างๆอย่างถูกต้องตามความเป็นจริงคิดพิจารณาอย่างมีวิจารณญาณ ใช้ปัญญารู้จักมอง รู้จักคิด ที่จะให้เข้าถึงความจริง และได้คุณประโยชน์ มีโยนิโสมนสิการ ที่เรียกว่า มองเป็น คิดเป็นรู้จักคิดจัดการ ดำเนินการ ทำกิจให้สำเร็จ ฉลาดในวิธีการที่จะนำไปสู่จุดหมายแสวงหา คัดเลือก นำความรู้ที่มีอยู่มาเชื่อมโยงสร้างเป็นความรู้ความคิดใหม่ๆ เพื่อใช้แก้ปัญหาและสร้างสรรค์รู้เท่าทันธรรมดาของสิ่งทั้งหลาย รู้แจ้งความจริงของโลกและชีวิต ทำให้วางใจถูกต้องต่อทุกสิ่งทุกอย่าง สามารถแก้ ปัญหาชีวิต ขจัดความทุกข์ในจิตใจของตนได้ หลุดพ้นจากความยึดติดถือมั่นในสิ่งทั้งหลาย ดำเนินชีวิตด้วยปัญญาอย่างแท้ จริง

อังกฤษ


คณิต


การงาน


บล็อคของปาณิตา คงสมพงษ์

จิดาภา ยิ้มย่อง   jhidapa-blog.blogspot.com