ตัวอักษรวิ่ง

ยินดีต้อนรับสู่โลกของเรา

วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

พละศึกษา

พลศึกษา เป็นศาสตร์และศิลป์ที่ได้รับการถ่ายทอดมานานจากคนตะวันตก ที่เน้นร่างกายเป็นสิ่งสำคัญมากกว่าจิตใจ ที่มีความแข็งแรง ความเร็ว ความอ่อนตัว ความคล่องแคล่ว ความทนทาน และระบบไหลเวียนโลหิต จนมีหลักการที่พูดกันว่า A SOUND MIND IN A SOUND BODY หรือ จิตใจที่แข็งแกร่งย่อมอยู่ในร่างกายที่แข็งแรง แต่ในความเป็นจริง คนตะวันออก พูดถึงพลศึกษามานานในรูปแบบทางจิตใจ นั่นคือ พละ 5 ธรรมที่เป็นพลัง มีสัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา แต่ไม่ได้รับการตอบรับมากนัก จนมีหลักการที่ว่า จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว จึงเห็นได้ว่า พลศึกษาต้องเกี่ยวโยงทั้งสองด้านคือ ร่างกายและจิตใจ ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ และทั้งคู่ต้องทำงานไปพร้อมๆกัน และที่สำคัญต้องบังคับร่างกายให้ได้ตามที่ต้องการและควบคุมจิตใจ                                                                              พลศึกษา คือศาสตร์และศิลป์ในการเรียนรู้ร่างกายและจิตใจ
พลศึกษา เป็น ชื่อสาระการเรียนรู้แขนงหนึ่งที่บังคับเรียนตามหลักสูตร เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกายและจิตใจอย่างถูกวิธี หรือหากจะเพิ่มรายละเอียดมากขึ้น ขอขยายความว่า
พลศึกษา หมายถึง สาระการเรียนรู้แขนงหนึ่ง ที่ว่าด้วยการเรียนรู้เรื่องการเคลื่อนไหวที่ต้องบังคับร่างกายและควบคุมจิตใจ เพื่อก่อให้เกิดการใช้พลังงานอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย และใช้กีฬาเป็นสื่อในการเรียนรู้
แล้วถามต่อว่า เรียนพลศึกษาไปทำไม ก็จะต้องมีการสร้างวิธีคิดให้กับผู้เรียนเช่นกันว่าทุกเรื่องที่เรียนรู้มีเป้าหมายปลายทางทั้งสิ้น ดังนี้
เรียนพลศึกษา เพื่อ ให้ร่างกายและจิตใจมีการเคลื่อนไหวที่ถูกวิธีและถูกต้อง จนก่อเกิดความแข็งแรงในร่างกายและความแข็งแกร่งในจิตใจ เมื่อเคลื่อนไหวสม่ำเสมอ จะมีสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจที่ดีต่อไป
จากนัยสำคัญของพลศึกษาในแง่ของคำว่า คือ,เป็น,หมายถึงและเพื่อ นั้น ย่อมแสดงถึงคุณค่ามหาศาลของคำ คำนี้ และเมื่อจะถอดรหัสใจความของเนื้อในที่มีหลายคำที่ทรงคุณค่า และสำคัญ ไม่ว่า ศาสตร์, ศิลป์, เคลื่อนไหว, บังคับร่างกาย, ควบคุมจิตใจ, ถูกวิธี, มีประสิทธิภาพ, ออกกำลังกาย, กีฬาเป็นสื่อ, ความแข็งแรงในร่างกาย, ความแข็งแกร่งในจิตใจ และสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ ยิ่งทำให้เห็นว่า คำนามธรรมคำหนึ่งที่ชื่อว่า “พลศึกษา” นั้น ทำไมจึงเป็นสาระการเรียนรู้ที่ยอดเยี่ยมได้ เพียงแต่จะไม่ขอกล่าวรายละเอียดในที่นี้ แต่จะให้แนวคิด, ข้อคิด และวิธีคิด
อีกแง่มุมหนึ่งที่นักวิชาการทางพลศึกษาหลายคนมองข้ามไป กล่าวคือ จากการที่การศึกษาส่วนใหญ่ เรียนรู้มาจากองค์ความรู้จากตะวันตกเป็นหลัก ซึ่งก็คือ “ความรู้ทางโลก” ทำให้องค์ความรู้ทางตะวันออกอีกแง่มุมหนึ่งลืมเลือนไปหรือให้ความสำคัญน้อยกว่า ซึ่งก็คือ “ความรู้ทางธรรม” นั่นคือ วิธีคิดทางธรรม ซึ่งเป็นแนวคิดที่ค่อนข้างเป็นนามธรรม แต่สามารถทำให้เห็นเป็นรูปธรรมอยู่ตลอดเวลา และอยู่ใกล้ตัวของคนมากที่สุด
ในอดีตชาวพลศึกษาหลายคนเคยได้รับการปลูกฝังจากครูบาอาจารย์ และรุ่นพี่ ให้พูดคำว่า พลศึกษา ให้เต็มคำ ไม่ใช่พูดว่า “พละ” ซึ่งความคิดขณะนั้น จะหมายถึงว่าใช้เฉพาะกำลัง ไม่ออกแนวใช้ความรู้ทางสมองมากนักหรือไม่ออกแนววิชาการนั่นเอง แต่เกรงว่าคนอื่นจะเข้าใจผิดว่าชาวพลศึกษาใช้แต่กำลังมากกว่าใช้สมอง เมื่อวันเวลาผ่านไป ประสบการณ์และการเรียนรู้มากขึ้น ผู้เขียนเริ่มเข้าใจว่า พูดคำว่า “พละ” ก็ได้ แถมมีนัยสำคัญทางธรรมะประกอบอยู่เสมอ ให้ระลึกเสมอว่า พละเป็นเรื่องที่มีความรู้ทางโลกและทางธรรมอยู่รวมกัน อยู่ร่วมกัน และอยู่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันตลอดเวลา ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น จากหนังสือพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ ของพระราชวรมุนีตนเองให้นิ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บล็อคของปาณิตา คงสมพงษ์

จิดาภา ยิ้มย่อง   jhidapa-blog.blogspot.com